ข่าวเด่น

สแตนบายรถพยาบาล 13 คัน-ทีมหมูป่าแข็งแรง

เมื่อวันที่ 3 ก.ค.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีมงานแพทย์ เปิดเผย ขณะนี้ทางทีมแพทย์ ได้เตรียมรถพยาบาลไว้จำนวน 13 คัน จอดแสตนบายไว้ที่จุดจอดรถด้านหน้าโรงพยาบาลสนาม โดยแยกเป็นคันที่ 1-2 เป็นของโรงพยาบาลตำรวจ คันที่ 3-4 โรงพยาบาลทหาร คันที่ 5-6 โรงพยาบาลตำรวจ คันที่ 7-8 โรงพยาบาลทหาร คันที่ 9-13 โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับอาการของเด็กและโค้ชนั้น ได้รับแจ้งเบื้องต้น ว่าเป็นสีเขียว 11 ราย ซึ่งเป็นร่างกายปกติ สีส้ม อาการปานกลาง 2 ราย อย่างไรก็ตามคิดว่าให้น้ำกับอาหารน่าจะดีขึ้น และเปลี่ยนเป็นสีเขียว

ส่วนการเคลื่อนย้ายนั้น ใช้แผน 8 ขั้นตอนในการเคลื่อนย้ายตามแผนเดิมคือ

1.หน่วยเตรียมขนส่ง จะต้องนำผู้ประสบภัยให้อยู่บนบอร์ดลำเลียง และประเมินการตอบสนองของผู้ป่วยเบื้องต้น ก่อนนำผู้ป่วยลำเลียงออกจากปากถ้ำ ก่อนขึ้นบันไดมาที่รถพยาบาล

2.หน่วยให้การรักษาเบื้องต้น หากทีมพบเจอผู้ประสบภัยแล้วจะมีการประเมินอาการว่าอยู่ในระดับไหนถ้าหากอยู่ในระดับที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ก็จะนำออกมาบริเวณหน้าถ้ำ และขึ้นรถพยาบาลทันที แต่หากผู้ประสบภัยอยู่ในอาการวิกฤตทางทีมแพทย์จะปฐมพยาบาลเบื้องต้นภายในถ้ำเลย หากอาการดีขึ้น ถึงจะนำออกมาขึ้นรถพยาบาลทันที

3.หน่วยลำเลียงผู้ป่วยขึ้นรถพยาบาลไปยังโรงพยาบาลสนาม ซึ่งลักษณะเป็นเต็นท์ หรือห้องผ่าตัดแบบเร่งด่วน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าอาคารอำนวยการร่วมของวนอุทยานถ้ำหลวงฯ โดยจะบ่งโซนเป็น 3 โซน

4.หน่วย Triage and Resuscitation หรือ หน่วยแพทย์ที่วิเคราะห์อาการตามความรุนแรง ความจริงถ้าจะมีการทำการคัดแยกอาการของผู้ประสบภัยตามความรุนแรง และความเร่งด่วนของผู้ประสบภัยให้การรักษาการตัดสินใจวิธีการในการส่งต่อโดยคำนึงถึงความเร่งด่วน หากผู้ป่วยที่มีอาการเร่งด่วนอาจจะต้องรักษาที่โรงพยาบาลสนาม

5.หน่วยขนส่งผู้ป่วยไปยังท่าอากาศยาน หากทีมแพทย์วิเคราะห์อาการแล้ว พบว่าสามารถไปรักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายประานุเคราะห์ได้ ก็จะรีบลำเลียงผู้ป่วยขึ้นรถพยาบาลไปลานบินศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริในพระราชดำริของสมเด็จพระเด็จรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

6.หน่วยดูแลผู้ป่วย ขณะส่งทางอากาศ ทางทีมแพทย์ Sky Doctor 2 ราย จะปฐมพยาบาลผู้ป่วยบนเฮลิคอปเตอร์ โดยทีมแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจและทหารจะรับผิดชอบในการเป็นแพทย์ดูแลขณะขนส่งทางอากาศ

7. หน่วยดูแลผู้ประสบภัยที่ลานบินเป้าหมาย จะมีทีมแพทย์ดูแลผู้ประสบภัยจากสนามบินเก่า ไปยังโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

และ 8. หน่วยดูแลผู้ประสบภัยที่โรงพยาบาลเชียงรายราชประชานุเคราะห์ เมื่อได้มีการประเมินผู้ป่วยเบื้องต้นที่โรงพยาบาลสนามแล้วให้สื่อสารมาแจ้งให้ทีมแพทย์ที่โรงพยาบาลรายเพื่อเตรียมการรักษา โดยขั้นตอนของการปฐมพยาบาล จะทำภายใน 30 นาที.