เทศบาลนครเชียงรายใช้มาตรการเชิงรุก ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
เทศบาลนครเชียงราย ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุ ขในเขตเทศบาล ให้ความรู้ประชาชนในการกำจั ดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พร้อมเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการ งานเวชกรรมสังคม กองการแพทย์ ดำเนินการพ่นหมอกควันเคมีกำจั ดยุง ภายหลังพบการระบาดของโรคไข้เลื อดออก ในพื้นที่
นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจั งหวัดเชียงราย ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2561 มีผู้ป่วยในเขตเทศบาลนครเชี ยงรายจำนวน 29 ราย ประกอบกับจากหนังสือของสำนั กงานสาธารณสุขเชียงราย ได้แจ้งสถิติในจังหวัดมี การระบาดต่อเนื่องเกิน 28 วัน และมีจำนวนผู้ป่วยเกินค่ามั ธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (2556-2560) จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการป้ องกันควบคุมโรคอย่างเข้มข้นต่ อเนื่อง ซึ่งหากไม่รีบดำเนินการป้องกั นควบคุมโรคอย่างเร่งด่วนแล้ว อาจก่อให้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ ของโรคไข้เลือดออกได้
จากสถานการณ์ดังกล่าว เทศบาลนครเชี ยงรายโดยกองการแพทย์ ได้จัดทีมเฉพาะกิจออกดำเนิ นการพ่นหมอกควันเคมีกำจัดยุงลาย ฉีดพ่นบริเวณ ชุมชน ศาสนสถาน และสถานศึกษาในเขตเทศบาล เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไข้ เลือดออก และบูรณาการร่วมกันกับสาธารณสุ ขจังหวัดเชียงราย อาสาสมัครสาธารณสุขในการจัดกิ จกรรมรณรงค์ให้ความรู้แก่ ประชาชนในการกำจัดแหล่งเพาะพั นธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้าน วัด โรงเรียน ศาสนสถาน ซึ่งเป็นวิธีป้องกันไข้เลื อดออกที่ดีที่สุด
นอกจากนี้ยังได้เร่งดำเนิ นการรณรงค์ให้ความรู้แก่ ประชาชนได้ทราบเกี่ยวกับมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค คือ เก็บบ้านให้สะอาด โปร่งโล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพั กของยุง /เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน ทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้งไม่ ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง /และเก็บน้ำ ภาชนะใส่น้ำต้องปิดฝามิดชิดหรื อปล่อยปลากินลูกน้ำ ป้องกันยุงลายไปวางไข่ เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัส ซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และดูแลทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุ งลายให้หมดไป
สำหรับอาการของโรคไข้เลือดออกนั้ น หลังจากได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5 -8 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ตาลอย อุณหภูมิ 38.5 – 40.0 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 2 – 7 วัน อาการทั่วไปคล้ายเป็นหวัด ไม่มีอาการไอ ไม่มีน้ำมูก หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน มีจุดแดงเล็กๆ ตามแขน ขา ลำตัว หากมีอาการไข้สูง 2 วัน กินยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ในการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น ให้ดื่มน้ำผลไม้ น้ำเกลือแร่บ่อยๆ เช็ดตัวเพื่อลดไข้ รับประทานอาหารอ่อนๆ งดอาหารที่มีสีคล้ายเลือด และทานยาตามแพทย์สั่ง ห้ามกินยาแอสไพรินหรือ ไอบูโพรเฟน เพราะจะทำให้เลือดออกง่าย ช่วงที่ไข้ลด ประมาณวันที่ 3 – 4 จะต้องเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ ชิด เพราะอาจเกิดภาวะช็อคได้ สังเกตอาการจาก ผู้ป่วยจะซึม อ่อนเพลียมาก กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบา เร็ว ปวดท้องกะทันหัน กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อยลง เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีดำ ขอให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันทีเพื่ อลดการเสียชีวิต
ด้วยความห่วงใยในสุ ขภาพของประชาชน ทางเทศบาลนครเชียงรายจึงได้เร่ งดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว เพื่อสร้างความมั่นใจให้กั บประชาชน ในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่ อในเขตเทศบาลนครเชียงราย สำหรับประชาชนที่ต้องการความช่ วยเหลือในการดำเนินการพ่ นหมอกควันเคมีกำจัดยุง สามารถติดต่อได้ที่งานเวชกรรมสั งคม กองการแพทย์ เบอร์โทรศัพท์ 053-150270