ข่าวเด่น

เอไอเอส สนับสนุนงาน TEDx Chiangmai 2018 โชว์เครือข่ายอัจฉริยะรับยุค IoT

เอไอเอส สนับสนุนงาน TEDx Chiangmai 2018 โชว์เครือข่ายอัจฉริยะรับยุค Internet of Things (IoT) สนับสนุนแนวคิด Our Common Future เชื่อมโยงโลกอนาคต

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 เอไอเอส สนับสนุนงาน TEDx Chiangmai 2018 พร้อมเชื่อมโยงพันธมิตรในระบบนิเวศน์ของอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง – IoT Ecosystem นำเครือข่ายอัจฉริยะ Narrow Band – Internet of Things ที่มีจุดเด่นในด้านการประหยัดพลังงาน และสามารถเชื่อมต่อพร้อมรองรับการใช้กับอุปกรณ์และบริการแบบ IoT อย่างเต็มประสิทธิภาพตามมาตรฐานระดับสากล เชื่อมโยงโลกแห่งอนาคตในยุคดิจิทัล จุดประกายสมาร์ทซิตี้ ไปพร้อมกับการประหยัดพลังงานรักษาสิ่งแวดล้อม สอดคล้องแนวคิด Our Common Future

โดยนายพรรัตน์ เจนจรัสสกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ เอไอเอส กล่าวว่า ปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง หรือ Internet of Things คือ ยุคที่อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสั่งการ เชื่อมต่อ สื่อสาร และควบคุมการทำงานอุปกรณ์ชิ้นอื่นได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งขณะนี้ทั่วโลกกำลังเริ่มนำมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งในระดับของผู้บริโภค อาทิ Smart City , Smart Home , Smart Farming ซึ่งในประเทศไทยเอง ก็มีการรวมตัวของนักพัฒนาอุปกรณ์และซอฟแวร์ รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เริ่มพัฒนาแพลตฟอร์ม และอุปกรณ์ IoT ออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง อาทิ Wearable device รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านบางประเภท, เครื่องตรวจวัดความชื้น/อุณหภูมิ, เครื่องวัดระดับน้ำ, จักรยานแบ่งกันปั่น หรือ Bike Sharing ในลักษณะ Machine2Machine ซึ่งนอกเหนือไปจากความสะดวกสบายที่ได้รับแล้ว ยังได้รวมแนวคิดถึงการรองรับการใช้งานของสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะมาถึงในไม่กี่ปีอีกด้วย

นายพรรัตน์ กล่าวด้วยว่า โดยในงาน เราได้เปิดให้ชมการประยุกต์ใช้งานจากเทคโนโลยี NB-IoT หรือ Narrow Band – Internet of Things จากของจริง อาทิ ระบบ Smart Farming , Smart Home , Bike Sharing ที่เชื่อมต่อกับ IoT อย่างเต็มประสิทธิภาพตามมาตรฐานระดับสากล พร้อมมีจุดเด่นด้วยการใช้งานพลังงานไฟฟ้าต่ำ สอดคล้องกับแนวคิด Our Common Future ที่เชื่อมโยงโลกอนาคตไปพร้อมกับสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน
จุดเด่นเครือข่าย AIS NB-IoT ประกอบด้วย
1. สนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ จึงช่วยทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ IoT อยู่ได้นานถึง 10 ปี
2. สามารถรองรับปริมาณอุปกรณ์ IoT ได้สูงสุดในระดับแสนตัวต่อสถานีฐาน
3. รัศมีครอบคลุมของเครือข่ายต่อสถานีฐาน กระจายได้มากกว่า 10 ก.ม. รวมถึงในตัวอาคารก็ยังรับสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สามารถพัฒนาเครือข่ายให้เปิดบริการ IoT ได้อย่างรวดเร็ว เพราะออกแบบอุปกรณ์ให้ใช้ร่วมกับ โครงข่าย 4G ในปัจจุบันได้

“ยุคของ Internet Of Things-IoT มาถึงเราแล้วอย่างชัดเจนและเชื่อว่าจะเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างมาก ดังนั้นการเตรียมความพร้อมจึงเป็นเรื่องสำคัญ และเอไอเอส ยินดีอย่างยิ่งที่จะเป็นตัวกลางเพื่อเชิญชวนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมาผนึกกำลัง สร้างระบบนิเวศน์ของอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT Ecosystem) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยให้แข็งแกร่งต่อไป” นายพรรัตน กล่าว.